แนวทางการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อขาย
1.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพเศรษฐกิจของประเทศของคู่สกุลเงินโดยเปรียบเทียบกัน ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีก็อาจส่งผลให้สกุลเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ประเทศใดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจก็อาจส่งผลให้สกุลเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง รวมถึงการพิจารณาปริมาณความต้องการซื้อหรือปริมาณความต้องการถือครองเงินสกุลเงินใดสกุลหนึ่ง หากปริมาณความต้องการดังกล่าวมีเพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลให้สกุลเงินนั้นแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ปริมาณความต้องการขายที่เพิ่มขึ้นก็จะส่งผลในทิศทางตรงกันข้าม อาจกล่าวได้ว่าการพิจารณาถึงปริมาณความต้องการซื้อ/ขาย เงินสกุลใดสกุลหนึ่งสามารถนำมาใช้เป็นหลักพื้นฐานเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันเพื่อหาทิศทางการเคลื่อนใหวของสกุลเงิน เช่น วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2552 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโร และทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น โดยดัชนีสกุลเงินยูโรลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี 2552 ถึงต้นปี 2553 ทั้งนี้ยังต้องติดตามตัวเลขต่างๆทางเศรษฐกิจซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงสภาพทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ อัตราการจ้างงาน เป็นต้น โดยปัจจุบันสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้สะดวกรวดเร็วซึ่งมีเวบฯที่รวบรวมเกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าวจากประเทศต่างๆจัดทำเป็นปฏิทินทางเศรษฐกิจ และระบุวันที่และเวลาที่ตัวเลขจะถูกประกาศ เช่น Forexfactory (ดูตัวอย่างปฏิทินเศรษฐกิจ) นอกจากนี้เวบฯดังกล่าวยังมีบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อขาย และที่สำคัญยังสามารถปรับเวลาที่แสดงในปฏิทินทางเศรษฐกิจให้ตรงกับเวลาในท้องถิ่น โดยค่าที่แสดงในแต่ละตัวเลขจะประกอบด้วย
- previous คือค่าก่อนหน้า หรือค่าเดิมที่ได้มีการประกาศในเดือน,ปีหรือไตรมาส ที่แล้ว
- forecast คือค่าคาดการ์ณ หรือค่าของตัวเลขที่มีการวิเคราะห์ล่วงหน้า ว่าน่าจะออกมาในระดับใด โดยพิจารณารวบรวมข้อมูลในรอบเดือน/ปี ที่ผ่านมา
- actual คือค่าที่ประกาศจริง
ดังนั้นการพิจารณาต้องดูทั้ง 3 ค่าประกอบกัน เช่นหากค่าที่ประกาศจริงสูงกว่าค่าเดิม(ในกรณีที่การเพิ่มขึ้นของตัวเลขนั้นส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ) แต่น้อยกว่าค่าที่คาดการณ์ก็อาจส่งผลในทิศทางตรงข้ามได้ เนื่องจากนักลงทุนเกิดความผิดหวัง ทั้งนี้ต้องดูถึงระดับของการส่งผลกระทบต่อตลาดของตัวเลข/ข่าว นั้นๆ โดยระดับดังกล่าวอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ ส่งผลมาก,ปานกลาง,น้อย ซึ่งทางเวบฯจะจัดระดับความสำคัญของ ตัวเลข/ข่าวให้ทราบในปฏิทินเศรษฐกิจ
หัวข้อ ข่าว/ตัวเลข ในปฏิทินเศรษฐกิจ และความหมาย
กลุ่มสำคัญมาก
Trade Balance
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP
ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Gross Domestic Product หรือ GDP
จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึง
เศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Price Index หรือ CPI
ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง
โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตรา ดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Retail Sales
ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales
โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ
ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI
ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
กลุ่มสำคัญ
Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์
แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Personal Income
ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ)
โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อ
และเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Personal Spending
ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล
การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด
ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland,
United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland,
Slovakia และ Slovenia
Durable Goods Orders
ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง
ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Institute of Supply Management หรือ ISM
ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ
การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
Philadelphia Fed Survey
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM
ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ
ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand
ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Factory Orders
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Industrial Production
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Non-Farm Productivity
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า
ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี
แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Current Account Balance
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน
ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Confidence
ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง
การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
NY Empire State Index
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
Leading Indicators
ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้
ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
Business Inventories
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก
ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
IFO Business Indexes
ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
ขอขอบคุณ แหล่งที่มาของความหมายข่าวในปฏิทินเศรษฐกิจ ป้าเหมียว
2.การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เป็นการพิจารณาการเคลื่อนใหวของราคาจากอดีตเพื่อหาทิศทางหรือแนวโน้มของราคาในอนาคต ตลอดจน แนวรับ แนวต้านของคู่สกุลเงินนั้นๆโดยอาศัยเครื่องมือหลักคือกราฟแสดงการเคลื่อนใหวของราคาซึ่งจะมีอยู่ในโปรแกรมการซื้อขาย นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มตัวชี้วัดต่างๆ (มีอยู่ในโปรแกรมฯ)เพื่อใช้หาสัญญาณซื้อ/ขาย ได้แม่นยำยิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค การทำงานและวิธีการกำหนดค่าของตัวชี้วัดต่างๆ ได้ตามเวบฯ
หรือดาวน์โหลดตำราฯ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีให้ดาวน์โหลดเป็นจำนวนมากทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น คู่มือการวิเคราะห์ทางเทคนิค ของ อ.สุรชัย ไชยรังสินันท์ เป็นต้น ไม่ยากง่ายหรอกครับ
การฝาก-ถอนเงินกับโบรกเกอร์
โดยทั่วไปโบรกเกอร์จะเปิดให้มีช่องทางในการฝาก-ถอน หลายช่องทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้ามากที่สุด และเป็นข้อสำคัญอย่างหนึ่งในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ โดยดูว่าโบรกเกอร์ที่คุณสนใจมีช่องทางในการฝาก-ถอน ที่คุณสะดวกหรือไม่ ทั้งนี้ในแต่ละช่องทางจะมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ซึ่งคุณควรศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดของช่องทางการฝาก-ถอน ต่างๆเพื่อหาช่องทางที่เหมาะสม และสะดวกแก่ตัวคุณมากที่สุด ที่สำคัญฝากทางใหนต้องถอนออกทางนั้น โบรกเกอร์จะไม่อนุญาติให้ทำรายการฝาก-ถอนในช่องทางที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการป้องกันการถอนเงินจากผู้ที่มิใช่เจ้าของบัญชี ซึ่งพอจะแบ่งช่องทางในการฝาก-ถอน หลักๆได้ดังนี้
1.Wire transfer คือการโอนเงินโดยตรงระหว่างบัญชีธนาคารของลูกค้ากับโบรกเกอร์ ซึ่งวิธีการนี้ใช้เวลาในการดำเนินการราวๆ 5-7 วันทำการและเสียค่าธรรมเนียมค่อนข้างแพง นอกจากนี้ยังมีกำหนดขั้นต่ำในการฝากถอนที่เยอะพอสมควร
2.เงินออนไลน์หรือ e-wallet เป็นระบบการชำระเงินที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการโอนเงินระหว่างประเทศ หรือชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเตอร์เน็ต โดยใช้เวลาในการดำเนินการสั้น รวดเร็วและเสียค่าธรรมเนียมน้อย โดยคุณสามารถเปิดบัญชีกับผู้ให้บริการ e-wallet โดยไม่เสียค่าใช่จ่ายใดๆ ตัวอย่างของบริษัทที่เปิดให้บริการ เช่น Skrill,Webmoney, Paypal, Neteller เป็นต้น
ตัวอย่างการทำรายการฝาก-ถอนผ่าน e-wallet
3.การฝาก-ถอนผ่านธนาคารออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางทีมีความสะดวกมีระยะเวลาในการดำเนินการที่รวดเร็ว ปลอดภัย และเสียค่าธรรมเนียมต่ำ โดยโบรกเกอรที่ให้บริการในช่องทางนี้คือ exness ดูรายละเอียดขั้นตอนการฝาก-ถอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์ ที่นี่....คลิ๊ก
4.การฝากผ่านบัตรเครดิต โดยต้องศึกษารายละเอียดจากโบรกเกอร์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ขั้นต่ำในการฝาก และช่องทางที่สามารถถอนได้ เนื่องจากแต่ละโบรกเกอร์จะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน นอกจากนี้บางโบรกเกอร์อาจมีบริการออกบัตรเดบิตให้แก่ลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บัตรดังกล่าวในการถอนเงินได้จากตู้ ATM ได้โดยตรง รวมถึงใช้บัตรดังกล่าวรูดชำระสินค้าและบริการได้ด้วย เช่นบัตรเดบิตของโบรกเกอร์ XM เป็นต้น
1.Wire transfer คือการโอนเงินโดยตรงระหว่างบัญชีธนาคารของลูกค้ากับโบรกเกอร์ ซึ่งวิธีการนี้ใช้เวลาในการดำเนินการราวๆ 5-7 วันทำการและเสียค่าธรรมเนียมค่อนข้างแพง นอกจากนี้ยังมีกำหนดขั้นต่ำในการฝากถอนที่เยอะพอสมควร
2.เงินออนไลน์หรือ e-wallet เป็นระบบการชำระเงินที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการโอนเงินระหว่างประเทศ หรือชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเตอร์เน็ต โดยใช้เวลาในการดำเนินการสั้น รวดเร็วและเสียค่าธรรมเนียมน้อย โดยคุณสามารถเปิดบัญชีกับผู้ให้บริการ e-wallet โดยไม่เสียค่าใช่จ่ายใดๆ ตัวอย่างของบริษัทที่เปิดให้บริการ เช่น Skrill,Webmoney, Paypal, Neteller เป็นต้น
ตัวอย่างการทำรายการฝาก-ถอนผ่าน e-wallet
4.การฝากผ่านบัตรเครดิต โดยต้องศึกษารายละเอียดจากโบรกเกอร์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ขั้นต่ำในการฝาก และช่องทางที่สามารถถอนได้ เนื่องจากแต่ละโบรกเกอร์จะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน นอกจากนี้บางโบรกเกอร์อาจมีบริการออกบัตรเดบิตให้แก่ลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บัตรดังกล่าวในการถอนเงินได้จากตู้ ATM ได้โดยตรง รวมถึงใช้บัตรดังกล่าวรูดชำระสินค้าและบริการได้ด้วย เช่นบัตรเดบิตของโบรกเกอร์ XM เป็นต้น
จะเริ่มอย่างไร
1.ก่อนอื่นคุณควรจะสำรวจสถานะต่างๆในตัวคุณเป็นต้นว่า สถานะการเงิน จำนวนเงินทุนที่เหมาะสม โดยเงินลงทุนควรเป็นเงินที่คุณสามารถนำมาลงทุนได้โดยไม่กระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายประจำของคุณ รวมไปถึงไม่กระทบต่อเงินที่คุณสำรองไว้เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และต้องประเมินว่าสามารถรองรับความเสี่ยงได้เพียงใด อัตราผลตอบแทนหรือกำไรที่คาดหวัง และ ระยะเวลาในการลงทุนในแต่ละออเดอร์ เช่นคุณอยากลงทุนทำกำไรรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายเดือน ทั้งนี้เพื่อให้คุณเลือกประเภทบัญชี อัตรา leverage ตลอดจนโบรกเกอร์ ที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด และไม่ลืมทำใจให้สบายๆ
2.ลงทะเบียนเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ โดยคุณสามารถดูข้อมูลของโบรกเกอร์ต่างๆได้ตามเวบไซต์ของโบรกเกอร์นั้นๆ โดยก่อนลงทะเบียนเปิดบัญชีจะต้องเตรียมอีเมลเพื่อใช้สมัครโดยจะต้องเป็นอีเมลของตัวคุณเองเท่านั้น
การลงทะเบียนเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ ให้เข้าไปที่เวบฯของโบรกเกอร์และหาคำว่า open account แล้วทำการคลิ๊ก ก็จะเข้าสู่หน้าแบบฟอร์มการกรอกใบสมัคร โดยในขั้นตอนการกรอกใบสมัครนั้นไม่มีอะไรยุ่งยากครับอาจใช้เวลาเพียง 3-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ชื่อ- นามสกุล ที่อยู่ อาชีพ การกำหนดรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ การเลือกประเภทบัญชี การเลือกอัตรา leverage เป็นต้น
- การกรอกข้อมูลต่างๆต้องกรอกเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อ และนามสกุลต้องมีการสะกดตรงกับบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตของคุณด้วย
- ต้องกรอกข้อมูลตามจริง เช่น ที่อยู่เพราะคุณต้องส่งเอกสารในการยืนยันที่อยู่เพื่อทำการยืนยันบัญชี
- ข้อมูลในช่องที่มีเครื่องหมาย (*) คือข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอก ส่วนช่องที่ไม่มีเครื่องหมาย (*) อาจไม่ต้องกรอกก็ได้
- การกรอกเบอร์โทรศัพท์ ให้ตัด 0 ตัวหน้าและเติม 66 (รหัสประเทศไทย)
ภายหลังจากที่กรอกข้อมูลเสร็จระบบอาจส่งลิงค์(เพื่อ login เข้าสู่บัญชี) ไปยังอีเมล ของคุณ โดยที่คุณต้องเข้าไปในอีเมลของคุณเพื่อทำการคลิ๊กที่ลิงก์ดังกล่าวเพื่อ login เข้าสู่บัญชี ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าอีเมลที่คุณใช้สมัครนั้นเป็นอีเมลของคุณจริงๆ ก็จะเป็นการเสร็จสิ้นในขั้นตอนการเปิดบัญชี
*บางโบรกเกอร์อาจจะมีการยืนยันหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมครับ
*โปรดดูขั้นตอนการเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ exness ที่นี่...คลิ๊ก
3.ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเวบไซต์ของโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีด้วยโดยทั่วไปโบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม MT4 ซึ่งโปรแกรมมีรองรับทั้ง Windows IOS และ Android ภายหลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวเรียบร้อยให้ทดสอบการเข้าโปรแกรมโดยการเข้าใช้โปรแกรมจะต้อง มี เลขที่บัญชี และรหัสผ่าน ซึ่งจะได้รับทางอีเมลของคุณภายหลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการเปิดบัญชี
4.ทำการฝากเงิน ซึ่งก่อนอื่นก็จำเป็นต้องเลือกรูปแบบหรือวิธีการ ฝาก/ถอน โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการฝาก/ถอนได้ที่..รูปแบบการฝาก/ถอน
หรือดูรายละเอียดที่นี่ ขั้นตอนการฝากเงินกับ exness
5.ยืนยันตัวตนโดยก่อนอื่นต้องเตรียมในสิ่งเหล่านี้
- ไฟล์เอกสารเพื่อใช้ในการยืนยันบัญชี ประกอบด้วยไฟล์เอกสารแสดงตัวตนเช่น บัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต เอกสารยืนยันที่อยู่เช่น บิลค่าอะไรก็ได้ที่มีชื่อและที่อยู่ของคุณ, statement ของธนาคาร,ใบกำกับภาษี เป็นต้น โดยสแกนเอกสารดังกล่าว หรือใช้มือถือถ่ายก็ได้ และทำการอัพโหลดไฟล์ดังกล่าวภายหลังจากที่คุณเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อคุณ login เข้าสู่บัญชีของคุณให้พยายามมองหาเมนู verify account และทำตามขั้นตอนซึ่งไม่ยุ่งยากอะไรมาก เพียงแค่อัพโหลดเอกสารดังกล่าว หลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่ของโบรกเกอร์จะทำการตรวจสอบเอกสารของคุณและ ขึ้นสถานะผ่านการยืนยันบัญชี ในบัญชีของคุณ โดยปกติอาจใช้เวลา 2-3 วันทำการ
*การยืนยันบัญชีมีขึ้นเพื่อป้องกันการทุจริตและการฟอกเงิน ดังนั้นคุณจำเป็นต้องผ่านการยืนยันบัญชี เพราะมิเช่นนั้นคุณจะไม่สามารถถอนเงินได้ แต่หากไม่ยืนยันก็ยังคงสามารถฝากเงินและส่งคำสั่งซื้อขายได้ตามปกติ
6. อย่าลืมทำใจให้สบายๆเข้าไว้ครับ
7.ได้เวลาสนุกแล้วสิ
2.ลงทะเบียนเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ โดยคุณสามารถดูข้อมูลของโบรกเกอร์ต่างๆได้ตามเวบไซต์ของโบรกเกอร์นั้นๆ โดยก่อนลงทะเบียนเปิดบัญชีจะต้องเตรียมอีเมลเพื่อใช้สมัครโดยจะต้องเป็นอีเมลของตัวคุณเองเท่านั้น
การลงทะเบียนเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ ให้เข้าไปที่เวบฯของโบรกเกอร์และหาคำว่า open account แล้วทำการคลิ๊ก ก็จะเข้าสู่หน้าแบบฟอร์มการกรอกใบสมัคร โดยในขั้นตอนการกรอกใบสมัครนั้นไม่มีอะไรยุ่งยากครับอาจใช้เวลาเพียง 3-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ชื่อ- นามสกุล ที่อยู่ อาชีพ การกำหนดรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ การเลือกประเภทบัญชี การเลือกอัตรา leverage เป็นต้น
- การกรอกข้อมูลต่างๆต้องกรอกเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อ และนามสกุลต้องมีการสะกดตรงกับบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตของคุณด้วย
- ต้องกรอกข้อมูลตามจริง เช่น ที่อยู่เพราะคุณต้องส่งเอกสารในการยืนยันที่อยู่เพื่อทำการยืนยันบัญชี
- ข้อมูลในช่องที่มีเครื่องหมาย (*) คือข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอก ส่วนช่องที่ไม่มีเครื่องหมาย (*) อาจไม่ต้องกรอกก็ได้
- การกรอกเบอร์โทรศัพท์ ให้ตัด 0 ตัวหน้าและเติม 66 (รหัสประเทศไทย)
ภายหลังจากที่กรอกข้อมูลเสร็จระบบอาจส่งลิงค์(เพื่อ login เข้าสู่บัญชี) ไปยังอีเมล ของคุณ โดยที่คุณต้องเข้าไปในอีเมลของคุณเพื่อทำการคลิ๊กที่ลิงก์ดังกล่าวเพื่อ login เข้าสู่บัญชี ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าอีเมลที่คุณใช้สมัครนั้นเป็นอีเมลของคุณจริงๆ ก็จะเป็นการเสร็จสิ้นในขั้นตอนการเปิดบัญชี
*บางโบรกเกอร์อาจจะมีการยืนยันหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมครับ
*โปรดดูขั้นตอนการเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ exness ที่นี่...คลิ๊ก
3.ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเวบไซต์ของโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีด้วยโดยทั่วไปโบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม MT4 ซึ่งโปรแกรมมีรองรับทั้ง Windows IOS และ Android ภายหลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวเรียบร้อยให้ทดสอบการเข้าโปรแกรมโดยการเข้าใช้โปรแกรมจะต้อง มี เลขที่บัญชี และรหัสผ่าน ซึ่งจะได้รับทางอีเมลของคุณภายหลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการเปิดบัญชี
4.ทำการฝากเงิน ซึ่งก่อนอื่นก็จำเป็นต้องเลือกรูปแบบหรือวิธีการ ฝาก/ถอน โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการฝาก/ถอนได้ที่..รูปแบบการฝาก/ถอน
หรือดูรายละเอียดที่นี่ ขั้นตอนการฝากเงินกับ exness
5.ยืนยันตัวตนโดยก่อนอื่นต้องเตรียมในสิ่งเหล่านี้
- ไฟล์เอกสารเพื่อใช้ในการยืนยันบัญชี ประกอบด้วยไฟล์เอกสารแสดงตัวตนเช่น บัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต เอกสารยืนยันที่อยู่เช่น บิลค่าอะไรก็ได้ที่มีชื่อและที่อยู่ของคุณ, statement ของธนาคาร,ใบกำกับภาษี เป็นต้น โดยสแกนเอกสารดังกล่าว หรือใช้มือถือถ่ายก็ได้ และทำการอัพโหลดไฟล์ดังกล่าวภายหลังจากที่คุณเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อคุณ login เข้าสู่บัญชีของคุณให้พยายามมองหาเมนู verify account และทำตามขั้นตอนซึ่งไม่ยุ่งยากอะไรมาก เพียงแค่อัพโหลดเอกสารดังกล่าว หลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่ของโบรกเกอร์จะทำการตรวจสอบเอกสารของคุณและ ขึ้นสถานะผ่านการยืนยันบัญชี ในบัญชีของคุณ โดยปกติอาจใช้เวลา 2-3 วันทำการ
*การยืนยันบัญชีมีขึ้นเพื่อป้องกันการทุจริตและการฟอกเงิน ดังนั้นคุณจำเป็นต้องผ่านการยืนยันบัญชี เพราะมิเช่นนั้นคุณจะไม่สามารถถอนเงินได้ แต่หากไม่ยืนยันก็ยังคงสามารถฝากเงินและส่งคำสั่งซื้อขายได้ตามปกติ
6. อย่าลืมทำใจให้สบายๆเข้าไว้ครับ
7.ได้เวลาสนุกแล้วสิ
เกี่ยวกับ pip lot และ leverage
Pip,Lot,Leverage
-Pip คือการเปลี่ยนแปลงในหน่วยที่เล็กที่สุดของอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่นคู่สกุลเงิน EUR/USD มีการเปลี่ยนแปลงจาก 1.3187 เป็น 1.3190 หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3 pip หรือ 3 จุด (1.3190 - 1.3187 = 0.0003)
โดยปกติการจับคู่ของเงินสกุลหลักๆ จะแสดงราคาในรูปของทศนิยมสี่ตำแหน่งทั้งสิ้น ยกเว้นคู่สกุลเงินที่มีค่าเงินเยน (JPY)จะแสดงราคาในรูปของทศนิยมสองตำแหน่ง ทั้งนี้มูลค่าของ pip ในแต่ละคู่สกุลเงินอาจไม่เท่ากัน โดยทางโบรกเกอร์จะคำนวณมูลค่า pip ให้อัตโนมัติครับ ท่านไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง
*หลายๆโบรกเกอร์อาจทำการแสดงจุดทศนิยมจุดที่ห้าหรือสาม (สามในคู่ที่มีค่าเงินเยน) ซึ่งจุดที่เพิ่มมานี้เรียกว่า pipette
ตัวอย่างการ Quote ค่าเงินแบบแสดง pipette
มูลค่าของ pip และ pipette นั้นมีสูตรในการคำนวณอยู่ครับ แต่นักลงทุนไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง โปรแกรมเทรดของแต่ละโบรกเกอร์จะทำการคำนวณให้อัตโนมัติครับ
-Lot คือรูปแบบในการนับมูลค่าการซื้อขายหรือปริมาณที่ซื้อในแต่ละออเดอร์ คือจะลงทุนซื้อเท่าไรนั่นเองครับ
โดยขนาดของ 1 lot มาตรฐาน (standard lot) เท่ากับ 100,000 หน่วยของค่าเงินฐาน เช่น หากเราส่งคำสั่ง buy หรือเปิดสถานะ Long ที่ 1 lot ในคู่สกุลเงิน EUR/USD จะมีค่าเท่ากับเราซื้อ 100,000 EUR ดังนั้นเราสามารถคำนวณกำไรขาดทุนได้ โดยนำจำนวน lot คูณกับมูลค่าของ pip แล้วคูณกับจำนวนที่เปลี่ยนแปลงไปของ pip
*ยกตัวอย่างจากกรณีข้างต้น
- โดยปกติมูลค่าของ pip ของคู่สกุลเงิน EUR/USD จะเท่ากับ 0.0001 USD
- จากกรณีดังกล่าวมีจำนวนการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3 pip
- ดังนั้น กำไร/ขาดทุน ของ 1 standard lot เท่ากับ 100,000(0.0001*3) เท่ากับ 30 เหรียญฯ (ในกรณีที่เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ด้วยสกุลเงินดอลลาร์ฯ )
หรือคิดเป็นกำไรขาดทุน pip ละ 10 เหรียญฯ ต่อการส่งคำสั่งซื้อที่ 1 lot นั่นเอง
นอกจากนี้ยังสามารถส่งคำสั่งในปริมาณ 0.1 และ 0.01 lot ได้ โดย 0.1 lot มีค่าเท่ากับ 10,000 หน่วยค่าเงินฐาน
0.01 lot มีค่าเท่ากับ 1,000 หน่วยค่าเงินฐาน
ดังนั้น 0.1 lot จะมีขนาดกำไร/ขาดทุน pip ละ 1 เหรียญ หรือ ราวๆ 30 บาท
และ 0.01 lot จะมีขนาดกำไร/ขาดทุน pip ละ 0.1 เหรียญ หรือ ราวๆ 3 บาท
โดยสรุป การส่งคำสั่งซื้อ 1 lot (ยกตัวอย่างคู่ EUR/USD) มีค่าเท่ากับซื้อเงินยูโรหนึ่งแสนยูโร หรือที่ 0.1 lot คือการส่งคำสั่งซื้อหนึ่งหมื่นยูโร นั่นเอง โดยเราสามารถคำนวณขนาดของกำไร/ขาดทุนได้ง่ายๆอีกแบบโดยคิดตามมูลค่า
เช่น หาก buy EUR/USD ที่ราคา 1.3148 จำนวน 1 lot มีมูลค่าหรือใช้ทุนเข้าซื้อเท่ากับ 131,480 ดอลลาร์
(อย่าพึ่งตกใจนะครับด้วยระบบ leverage เราไม่จำเป็นต้องใช้ทุนเยอะขนาดนี้)
ต่อมาราคาขยับขึ้นไปที่ 1.3149 และทำการขายเงินยูโรออกไปจะได้เป็นเงินดอลลาร์กลับคืนมา 134,190 ดอลลาร์ หรือได้กำไร 10 ดอลลาร์ โดยการขยับขึ้นของราคาเพียง 1 pip เท่านั้น
-leverage คืออัตราการเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ลูกค้า โดย leverage จะกำหนดเป็นอัตราส่วนเช่น 1:100 หมายความว่าใช้เงินเพียงร้อยละ 1 ของมูลค่าที่สั่งซื้อเพื่อส่งคำสั่งซื้อ โดยลูกค้าเพียงแต่วางเงินประกันขั้นต่ำหรือ Used Margin เพียง 1% ของมูลค่าที่ส่งคำสั่งซื้อเท่านั้น
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนักลงทุนไม่ได้ชำระค่าซื้อเต็มจำนวนหรือเต็มมูลค่าที่ได้สั่งซื้อไป และเงินที่วางเป็นหลักประกันนั้นจะถูกคำนวณกำไรขาดทุนให้อัตโนมัติ เพื่อให้นักลงทุนสามารถรับรู้กำไรขาดทุนได้ตลอดเวลา
ดังนั้น หากเราต้องการสั่งซื้อ EUR/USD เป็นจำนวน 1 standard lot ที่ราคา offer ที่ 1.3148 โดยไม่อาศัย leverage เราอาจต้องใช้เงินลงทุนถึง 131,480 เหรียญฯ ! เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 10 เหรียญฯ นั่นคือการชำระเงินค่าซื้อเต็มจำนวน
แต่ที่อัตรา leverage 1:100 เราจะใช้เงินเพียง 1,314.8 เหรียญฯ ในการวางเป็นหลักประกัน เท่านั้น เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 10 เหรียญได้เช่นกัน (131,480/100)
ที่อัตรา leverage 1:200 จะใช้ used margin เท่ากับ 657.4 เหรียญฯ (131,480/200)
และที่อัตรา leverage 1:500 จะใช้ used margin เท่ากับ 262.96 เหรียญฯ (131,480/500)
จากกรณีเดียวกัน การส่งคำสั่งซื้อที่ 0.1 lot ใช้ used margin ประมาณ 131.48 เหรียญฯ เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 1 เหรียญ ที่ leverage 1:500 ใช้ used margin เพียง 26.29 เหรียญ
จะเห็นว่าอัตรา leverage ที่สูงขึ้น ยิ่งทำให้เราใช้ used margin น้อยลง โดยปกติอัตรา leverage จะมีให้ลูกค้าเลือกในขั้นตอนการเปิดบัญชีและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 1:1 ถึง1:500 ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ และบางโบรกเกอร์อาจมีให้ถึง 1:2000 แต่มีข้อควรระวังก็คือการเพิ่มอัตรา leverage เป็นการเพิ่มความเสี่ยง โดยนักลงทุนที่เลือกอัตรา leverage สูงๆต้องมีการจัดการหรือบริหารการเงินที่ดีควบคู่ไปด้วย
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ......
เพราะต้องไม่ลืมว่าในระบบ leverage เราไม่ได้ชำระเงินเต็มจำนวนในการลงทุน เพียงแค่วางเงินหลักประกันไว้บางส่วนเท่านั้น แต่เรามีมูลค่าการลงทุนที่เกินขนาดเงินวางประกันของเรา
เรามาดูกรณีตัวอย่างกันครับ
เริ่มต้นเลยนั้นเมื่อคุณทำการเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณจำเป็นที่จะต้องทำการฝากเงินเข้าบัญชีเทรดก่อนครับ โดยเงินฝากขั้นต่ำขึ้นอยู่กับประเภทบัญชี และข้อกำหนดของโบรกเกอร์ ทั้งนี้เงินฝากขั้นต่ำจะมีตั้งแต่ 1 - 2,000 เหรียญฯ
(โปรดดูรายละเอียดการเปิดบัญชีและขั้นตอนการฝากถอนเงิน)
สมมุติว่าคุณทำการฝากเงินเป็นจำนวน 100 เหรียญฯ หรือราวๆ 3,500 บาท จะทำให้คุณมี Balance เท่ากับ 100 เหรียญฯ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในบัญชีเทรดของคุณ
และสมมุติว่าคุณเลือกอัตรา leverage ที่ 1:500
ตอนนี้คุณก็สามารถส่งคำสั่งซื้อหรือเปิดสถานะการลงทุนได้แล้ว ซึ่งผมจะขอใช้คำว่า เปิดออเดอร์ นะครับ
หากคุณเปิดออเดอร์ buy EUR/USD ที่ 0.1 lot จะทำให้คุณใช้เงินวางประกันขั้นต่ำ หรือ Used Margin เท่ากับ 26.29 เหรียญฯ ซึ่งจะเหลือ Free Margin หรือ Available Margin อีก 73.71 เหรียญฯ กรณีที่สถานะการลงทุนนั้นเท่าทุนนะครับ
แต่หากคุณได้กำไรอยู่ Free Margin ก็จะเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนกำไรที่ได้รับ
เช่นเดียวกันหากออเดอร์นั้นขาดทุนอยู่ Free Margin ก็จะลดลงเท่ากับจำนวนที่ขาดทุน
นอกจากนั้นจำนวนกำไร/ ขาดทุน จะถูกนำมาบวก/ ลบ กับ Balance ของคุณเพื่อแสดงสถานะทรัพย์สินสุทธิในบัญชีของคุณ ซึ่งจะแสดงในค่า Equity ครับ
โปรดดูตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ครับเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการวางหลักประกัน การคิดกำไรขาดทุน และแสดงถึงความมหัสจรรย์ของระบบ leverage ซึ่งจะเห็นว่าบัญชีดังกล่าวมี Balance เริ่มต้น เพียง 285 บาทเท่านั้น แต่สามารถทำกำไรได้ถึง 3,433 บาทในระยะเวลาไม่ถึง 1 วัน
เริ่มเห็นโอกาสกันรึยังครับ
กรณีข้างต้นนี้หากขาดทุนก็จะขาดทุนสูงสุดไม่เกิน Balance ที่เรามีหรือ 285 บาทเท่านั้น
ใช่แล้วครับการลงทุนในระบบ leverage อาจทำให้คุณสูญเงินลงทุนทั้งหมดที่คุณฝากเข้าบัญชีเทรด แต่ก็ถือเป็นการขาดทุนที่จำกัด ในขณะเดียวกัน กรณีที่ได้กำไรคุณสามารถทำกำไรได้ไม่จำกัดอย่างที่เห็นครับ
อ่านบทความต่อเนื่อง จะเริ่มอย่างไร
-Pip คือการเปลี่ยนแปลงในหน่วยที่เล็กที่สุดของอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่นคู่สกุลเงิน EUR/USD มีการเปลี่ยนแปลงจาก 1.3187 เป็น 1.3190 หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3 pip หรือ 3 จุด (1.3190 - 1.3187 = 0.0003)
โดยปกติการจับคู่ของเงินสกุลหลักๆ จะแสดงราคาในรูปของทศนิยมสี่ตำแหน่งทั้งสิ้น ยกเว้นคู่สกุลเงินที่มีค่าเงินเยน (JPY)จะแสดงราคาในรูปของทศนิยมสองตำแหน่ง ทั้งนี้มูลค่าของ pip ในแต่ละคู่สกุลเงินอาจไม่เท่ากัน โดยทางโบรกเกอร์จะคำนวณมูลค่า pip ให้อัตโนมัติครับ ท่านไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง
*หลายๆโบรกเกอร์อาจทำการแสดงจุดทศนิยมจุดที่ห้าหรือสาม (สามในคู่ที่มีค่าเงินเยน) ซึ่งจุดที่เพิ่มมานี้เรียกว่า pipette
ตัวอย่างการ Quote ค่าเงินแบบแสดง pipette
มูลค่าของ pip และ pipette นั้นมีสูตรในการคำนวณอยู่ครับ แต่นักลงทุนไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง โปรแกรมเทรดของแต่ละโบรกเกอร์จะทำการคำนวณให้อัตโนมัติครับ
-Lot คือรูปแบบในการนับมูลค่าการซื้อขายหรือปริมาณที่ซื้อในแต่ละออเดอร์ คือจะลงทุนซื้อเท่าไรนั่นเองครับ
โดยขนาดของ 1 lot มาตรฐาน (standard lot) เท่ากับ 100,000 หน่วยของค่าเงินฐาน เช่น หากเราส่งคำสั่ง buy หรือเปิดสถานะ Long ที่ 1 lot ในคู่สกุลเงิน EUR/USD จะมีค่าเท่ากับเราซื้อ 100,000 EUR ดังนั้นเราสามารถคำนวณกำไรขาดทุนได้ โดยนำจำนวน lot คูณกับมูลค่าของ pip แล้วคูณกับจำนวนที่เปลี่ยนแปลงไปของ pip
*ยกตัวอย่างจากกรณีข้างต้น
- โดยปกติมูลค่าของ pip ของคู่สกุลเงิน EUR/USD จะเท่ากับ 0.0001 USD
- จากกรณีดังกล่าวมีจำนวนการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3 pip
- ดังนั้น กำไร/ขาดทุน ของ 1 standard lot เท่ากับ 100,000(0.0001*3) เท่ากับ 30 เหรียญฯ (ในกรณีที่เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ด้วยสกุลเงินดอลลาร์ฯ )
หรือคิดเป็นกำไรขาดทุน pip ละ 10 เหรียญฯ ต่อการส่งคำสั่งซื้อที่ 1 lot นั่นเอง
นอกจากนี้ยังสามารถส่งคำสั่งในปริมาณ 0.1 และ 0.01 lot ได้ โดย 0.1 lot มีค่าเท่ากับ 10,000 หน่วยค่าเงินฐาน
0.01 lot มีค่าเท่ากับ 1,000 หน่วยค่าเงินฐาน
ดังนั้น 0.1 lot จะมีขนาดกำไร/ขาดทุน pip ละ 1 เหรียญ หรือ ราวๆ 30 บาท
และ 0.01 lot จะมีขนาดกำไร/ขาดทุน pip ละ 0.1 เหรียญ หรือ ราวๆ 3 บาท
โดยสรุป การส่งคำสั่งซื้อ 1 lot (ยกตัวอย่างคู่ EUR/USD) มีค่าเท่ากับซื้อเงินยูโรหนึ่งแสนยูโร หรือที่ 0.1 lot คือการส่งคำสั่งซื้อหนึ่งหมื่นยูโร นั่นเอง โดยเราสามารถคำนวณขนาดของกำไร/ขาดทุนได้ง่ายๆอีกแบบโดยคิดตามมูลค่า
เช่น หาก buy EUR/USD ที่ราคา 1.3148 จำนวน 1 lot มีมูลค่าหรือใช้ทุนเข้าซื้อเท่ากับ 131,480 ดอลลาร์
(อย่าพึ่งตกใจนะครับด้วยระบบ leverage เราไม่จำเป็นต้องใช้ทุนเยอะขนาดนี้)
ต่อมาราคาขยับขึ้นไปที่ 1.3149 และทำการขายเงินยูโรออกไปจะได้เป็นเงินดอลลาร์กลับคืนมา 134,190 ดอลลาร์ หรือได้กำไร 10 ดอลลาร์ โดยการขยับขึ้นของราคาเพียง 1 pip เท่านั้น
-leverage คืออัตราการเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ลูกค้า โดย leverage จะกำหนดเป็นอัตราส่วนเช่น 1:100 หมายความว่าใช้เงินเพียงร้อยละ 1 ของมูลค่าที่สั่งซื้อเพื่อส่งคำสั่งซื้อ โดยลูกค้าเพียงแต่วางเงินประกันขั้นต่ำหรือ Used Margin เพียง 1% ของมูลค่าที่ส่งคำสั่งซื้อเท่านั้น
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนักลงทุนไม่ได้ชำระค่าซื้อเต็มจำนวนหรือเต็มมูลค่าที่ได้สั่งซื้อไป และเงินที่วางเป็นหลักประกันนั้นจะถูกคำนวณกำไรขาดทุนให้อัตโนมัติ เพื่อให้นักลงทุนสามารถรับรู้กำไรขาดทุนได้ตลอดเวลา
ดังนั้น หากเราต้องการสั่งซื้อ EUR/USD เป็นจำนวน 1 standard lot ที่ราคา offer ที่ 1.3148 โดยไม่อาศัย leverage เราอาจต้องใช้เงินลงทุนถึง 131,480 เหรียญฯ ! เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 10 เหรียญฯ นั่นคือการชำระเงินค่าซื้อเต็มจำนวน
แต่ที่อัตรา leverage 1:100 เราจะใช้เงินเพียง 1,314.8 เหรียญฯ ในการวางเป็นหลักประกัน เท่านั้น เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 10 เหรียญได้เช่นกัน (131,480/100)
ที่อัตรา leverage 1:200 จะใช้ used margin เท่ากับ 657.4 เหรียญฯ (131,480/200)
และที่อัตรา leverage 1:500 จะใช้ used margin เท่ากับ 262.96 เหรียญฯ (131,480/500)
จากกรณีเดียวกัน การส่งคำสั่งซื้อที่ 0.1 lot ใช้ used margin ประมาณ 131.48 เหรียญฯ เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 1 เหรียญ ที่ leverage 1:500 ใช้ used margin เพียง 26.29 เหรียญ
จะเห็นว่าอัตรา leverage ที่สูงขึ้น ยิ่งทำให้เราใช้ used margin น้อยลง โดยปกติอัตรา leverage จะมีให้ลูกค้าเลือกในขั้นตอนการเปิดบัญชีและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 1:1 ถึง1:500 ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ และบางโบรกเกอร์อาจมีให้ถึง 1:2000 แต่มีข้อควรระวังก็คือการเพิ่มอัตรา leverage เป็นการเพิ่มความเสี่ยง โดยนักลงทุนที่เลือกอัตรา leverage สูงๆต้องมีการจัดการหรือบริหารการเงินที่ดีควบคู่ไปด้วย
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ......
เพราะต้องไม่ลืมว่าในระบบ leverage เราไม่ได้ชำระเงินเต็มจำนวนในการลงทุน เพียงแค่วางเงินหลักประกันไว้บางส่วนเท่านั้น แต่เรามีมูลค่าการลงทุนที่เกินขนาดเงินวางประกันของเรา
เรามาดูกรณีตัวอย่างกันครับ
เริ่มต้นเลยนั้นเมื่อคุณทำการเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณจำเป็นที่จะต้องทำการฝากเงินเข้าบัญชีเทรดก่อนครับ โดยเงินฝากขั้นต่ำขึ้นอยู่กับประเภทบัญชี และข้อกำหนดของโบรกเกอร์ ทั้งนี้เงินฝากขั้นต่ำจะมีตั้งแต่ 1 - 2,000 เหรียญฯ
(โปรดดูรายละเอียดการเปิดบัญชีและขั้นตอนการฝากถอนเงิน)
สมมุติว่าคุณทำการฝากเงินเป็นจำนวน 100 เหรียญฯ หรือราวๆ 3,500 บาท จะทำให้คุณมี Balance เท่ากับ 100 เหรียญฯ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในบัญชีเทรดของคุณ
และสมมุติว่าคุณเลือกอัตรา leverage ที่ 1:500
ตอนนี้คุณก็สามารถส่งคำสั่งซื้อหรือเปิดสถานะการลงทุนได้แล้ว ซึ่งผมจะขอใช้คำว่า เปิดออเดอร์ นะครับ
หากคุณเปิดออเดอร์ buy EUR/USD ที่ 0.1 lot จะทำให้คุณใช้เงินวางประกันขั้นต่ำ หรือ Used Margin เท่ากับ 26.29 เหรียญฯ ซึ่งจะเหลือ Free Margin หรือ Available Margin อีก 73.71 เหรียญฯ กรณีที่สถานะการลงทุนนั้นเท่าทุนนะครับ
แต่หากคุณได้กำไรอยู่ Free Margin ก็จะเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนกำไรที่ได้รับ
เช่นเดียวกันหากออเดอร์นั้นขาดทุนอยู่ Free Margin ก็จะลดลงเท่ากับจำนวนที่ขาดทุน
นอกจากนั้นจำนวนกำไร/ ขาดทุน จะถูกนำมาบวก/ ลบ กับ Balance ของคุณเพื่อแสดงสถานะทรัพย์สินสุทธิในบัญชีของคุณ ซึ่งจะแสดงในค่า Equity ครับ
โปรดดูตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ครับเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการวางหลักประกัน การคิดกำไรขาดทุน และแสดงถึงความมหัสจรรย์ของระบบ leverage ซึ่งจะเห็นว่าบัญชีดังกล่าวมี Balance เริ่มต้น เพียง 285 บาทเท่านั้น แต่สามารถทำกำไรได้ถึง 3,433 บาทในระยะเวลาไม่ถึง 1 วัน
กรณีข้างต้นนี้หากขาดทุนก็จะขาดทุนสูงสุดไม่เกิน Balance ที่เรามีหรือ 285 บาทเท่านั้น
ใช่แล้วครับการลงทุนในระบบ leverage อาจทำให้คุณสูญเงินลงทุนทั้งหมดที่คุณฝากเข้าบัญชีเทรด แต่ก็ถือเป็นการขาดทุนที่จำกัด ในขณะเดียวกัน กรณีที่ได้กำไรคุณสามารถทำกำไรได้ไม่จำกัดอย่างที่เห็นครับ
อ่านบทความต่อเนื่อง จะเริ่มอย่างไร
รูปแบบการลงทุนใน Forex
การลงทุนในตลาด Forex จะซื้อหรือขายเป็นคู่ของสกุลเงิน คือการนำค่าเงินสองสกุลมาเปรียบเทียบกัน
ตัวอย่าง จากตารางข้างต้นแสดงการจับคู่ของค่าเงินสกุลต่างๆ รวมถึงแสดง ราคา ณ ขณะนั้น (อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่จับคู่กันอยู่นั่นเอง) โดยในบรรทัดแรกเป็นการจับคู่ระหว่าง เงินยูโร (EUR) กับเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) และ บรรทัดที่สองเป็นการจับคู่ระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) กับเงินเยน (JPY) โดยสกุลเงินที่เขียนอยู่ข้างหน้าเครื่องหมาย " / " คือค่าเงินฐาน (base currency) มีค่าเท่ากับ 1 และ สกุลเงินที่เขียนอยู่ข้างหลังเครื่องหมายคือค่าเงินที่อ้างอิง (quote currency) มีค่าตามอัตราที่แสดงในตาราง
ตัวอย่างจากคู่ของสกุลเงินในบรรทัดแรก EUR/USD หมายความว่า ณ ขณะนั้น 1 EUR มีค่าเทียบเท่ากับ 1.3187 USD (พิจารณาราคาจากคอลัมน์ Last ซึ่งเป็นราคาล่าสุดที่มีการซื้อขาย ณ ขณะนั้น) เมื่อราคามีการเปลี่ยนแปลงไปอาจจะปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงก็ตามก็จะเป็นการบ่งบอกถึงการแข็งค่าหรืออ่อนค่าโดยเปรียบเทียบระหว่างสกุลเงินที่จับคู่กันอยู่ เช่น หากราคาของ EUR/USD มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น 1.3215 ก็อาจหมายความว่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯเพราะสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ฯได้มากขึ้น 0.0028USD
(1.3215 - 1.3187 เท่ากับ 0.0028) หรือเงินดอลลาร์ฯอาจอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร เป็นต้น
ดังนั้นการทำกำไรในตลาด Forex จึงมีอยู่สองรูปแบบคือ
1.การเข้าซื้อ (buy) หรือการเปิดสถานะ long
คือการมองว่าราคามีแนวโน้มสูงขึ้นโดยการเข้าซื้อ ณ ระดับราคาหนึ่งและทำการขายหลังจากที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นเพื่อทำกำไร
ซื้อถูก-ขายแพงนั่นเอง
โดยคุณสามารถเข้าซื้อได้ ที่ราคา ที่โบรกเกอร์ เสนอขายหรือ Offer,Ask ( ดูคอลัมน์ Offer จากตารางด้านบน ) และปิดสถานะหรือขายที่ราคารับซื้อ Bid ( ดูคอลัมน์ Bid จากตารางด้านบน ) จะเห็นได้ว่าราคา offer และ bid มีส่วนต่างกันอยู่ เช่นในบรรทัดที่ 2 คู่ของ USD/JPY มีราคา offer ที่ 76.13 และราคา bid ที่ 76.10 ส่วนต่างเท่ากับ 0.03 หรือ 3 จุด ซึ่งส่วนต่างดังกล่าวเรียกว่า spread เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซื้อขายและถือเป็นรายได้ของโบรกเกอร์ด้วย เช่นหากคุณเข้าซื้อที่ราคา offer ที่ 76.13 สถานะออเดอร์ก็จะติดลบ 3 จุดและหากคุณทำการปิดสถานะหรือขายในขณะนั้นเลยก็จะขาดทุน 3 จุดเพราะต้องขายคืนที่ราคา bid ที่ 73.10
แต่หากคุณยังคงถือสถานะต่อไปเรื่อยๆจนราคา bid มีค่ามากกว่าราคาที่เข้าซื้อ (76.13) สถานะออเดอร์ก็จะเป็นบวกหรือได้กำไร
2.การขายออกไปก่อนแล้วซื้อคืนในภายหลัง (sell) หรือการเปิดสถานะ short
คือการมองว่าราคามีแนวโน้มลดลง โดยส่งคำสั่งขาย ณ ระดับราคาหนึ่งและ ทำการซื้อคืนโบรกเกอร์ด้วยราคาที่ถูกกว่า โดยในกรณีนี้คุณทำรายการหรือเปิดสถานะที่ ราคา bid และทำการปิดสถานะที่ราคา offer
ยกตัวอย่างทั้งสองกรณีจากภาพด้านล่างเป็นกราฟแสดงการเคลื่อนไหวของราคาคู่ EUR/USD ตั้งแต่วันที่ 7/11/2011 ถึง วันที่ 30/01/2012
หากคุณ buy หรือเปิดสถานะ longที่จุด x ที่ราคาเท่ากับ 1.2669 ณ วันที่ 16/01/2012 และขายออกไปหรือปิดสถานะที่จุด p ที่ราคาเท่ากับ 1.3140 ในวันที่ 30/01/2012
คุณก็จะได้รับกำไรเท่ากับ 471 pip
*สมมุติว่ากรณีดังกล่าวมีมูลค่า pip เท่ากับ 0.10 USD หรือ pip ละ 10 เซนต์ กำไรที่ได้รับคือ 0.10*471 เท่ากับ 47.10 USD ในขณะเดียวกันหากคุณ sell หรือเปิดสถานะ short ที่จุด x และทำการปิดสถานะเพื่อหยุดการขาดทุนที่จุด p ก็จะมีขนาดการขาดทุนเท่ากับ 47.10 USD ได้เช่นกัน!
แต่หากคุณ sell ที่จุด a ที่ราคา 1.3381 และทำการปิดสถานะเพื่อทำกำไรที่จุด x ที่ราคา 1.2669 ก็จะได้กำไร 712 pip
สำหรับระยะเวลาการถือออเดอร์นั้นไม่จำกัด สามารถถือในระยะยาวเป็นเดือน,ปี หรือระยะสั้นเพียง 5-10 นาทีแล้วปิดสถานะหรือขายออกไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับแผนการและรูปแบบการลงทุนของแต่ละคน
ปัญหาต่อมาก็คือจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาจะเคลื่อนไหวไปทิศทางใหน ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์ (ดูบทความแนวทางการวิเคราะห์) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการศึกษา เพื่อการประสบความสำเร็จในการลงทุน และนำมาซึ่งผลกำไรที่งดงาม
ไม่ยากง่ายหรอกครับหากสนใจและตั้งใจจริง ค่อยๆอ่านไปทีละบทความนะครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)