Booking.com

เกี่ยวกับ pip lot และ leverage

Pip,Lot,Leverage
     
          -Pip คือการเปลี่ยนแปลงในหน่วยที่เล็กที่สุดของอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่นคู่สกุลเงิน  EUR/USD  มีการเปลี่ยนแปลงจาก 1.3187 เป็น 1.3190 หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3 pip หรือ 3 จุด (1.3190 - 1.3187 = 0.0003)

โดยปกติการจับคู่ของเงินสกุลหลักๆ  จะแสดงราคาในรูปของทศนิยมสี่ตำแหน่งทั้งสิ้น ยกเว้นคู่สกุลเงินที่มีค่าเงินเยน (JPY)จะแสดงราคาในรูปของทศนิยมสองตำแหน่ง ทั้งนี้มูลค่าของ pip ในแต่ละคู่สกุลเงินอาจไม่เท่ากัน โดยทางโบรกเกอร์จะคำนวณมูลค่า pip ให้อัตโนมัติครับ ท่านไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง

*หลายๆโบรกเกอร์อาจทำการแสดงจุดทศนิยมจุดที่ห้าหรือสาม (สามในคู่ที่มีค่าเงินเยน) ซึ่งจุดที่เพิ่มมานี้เรียกว่า pipette

ตัวอย่างการ Quote ค่าเงินแบบแสดง pipette 

มูลค่าของ pip และ pipette นั้นมีสูตรในการคำนวณอยู่ครับ แต่นักลงทุนไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง โปรแกรมเทรดของแต่ละโบรกเกอร์จะทำการคำนวณให้อัตโนมัติครับ


      -Lot คือรูปแบบในการนับมูลค่าการซื้อขายหรือปริมาณที่ซื้อในแต่ละออเดอร์ คือจะลงทุนซื้อเท่าไรนั่นเองครับ
โดยขนาดของ 1 lot มาตรฐาน (standard lot) เท่ากับ 100,000 หน่วยของค่าเงินฐาน เช่น หากเราส่งคำสั่ง buy หรือเปิดสถานะ Long ที่ 1 lot ในคู่สกุลเงิน EUR/USD จะมีค่าเท่ากับเราซื้อ 100,000 EUR  ดังนั้นเราสามารถคำนวณกำไรขาดทุนได้ โดยนำจำนวน lot คูณกับมูลค่าของ pip แล้วคูณกับจำนวนที่เปลี่ยนแปลงไปของ pip
    *ยกตัวอย่างจากกรณีข้างต้น
- โดยปกติมูลค่าของ pip ของคู่สกุลเงิน EUR/USD  จะเท่ากับ 0.0001 USD
- จากกรณีดังกล่าวมีจำนวนการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3 pip
- ดังนั้น กำไร/ขาดทุน ของ 1 standard lot เท่ากับ  100,000(0.0001*3) เท่ากับ 30 เหรียญฯ (ในกรณีที่เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ด้วยสกุลเงินดอลลาร์ฯ ) 

หรือคิดเป็นกำไรขาดทุน pip ละ 10 เหรียญฯ ต่อการส่งคำสั่งซื้อที่ 1 lot นั่นเอง

นอกจากนี้ยังสามารถส่งคำสั่งในปริมาณ 0.1 และ 0.01 lot ได้ โดย 0.1 lot มีค่าเท่ากับ 10,000 หน่วยค่าเงินฐาน 
0.01 lot มีค่าเท่ากับ 1,000 หน่วยค่าเงินฐาน 

ดังนั้น 0.1 lot จะมีขนาดกำไร/ขาดทุน pip ละ 1 เหรียญ หรือ ราวๆ 30 บาท
และ 0.01 lot จะมีขนาดกำไร/ขาดทุน pip ละ 0.1 เหรียญ หรือ ราวๆ 3 บาท

โดยสรุป การส่งคำสั่งซื้อ 1 lot (ยกตัวอย่างคู่ EUR/USD) มีค่าเท่ากับซื้อเงินยูโรหนึ่งแสนยูโร หรือที่ 0.1 lot คือการส่งคำสั่งซื้อหนึ่งหมื่นยูโร  นั่นเอง โดยเราสามารถคำนวณขนาดของกำไร/ขาดทุนได้ง่ายๆอีกแบบโดยคิดตามมูลค่า 

เช่น หาก buy EUR/USD ที่ราคา 1.3148 จำนวน 1 lot มีมูลค่าหรือใช้ทุนเข้าซื้อเท่ากับ 131,480  ดอลลาร์
(อย่าพึ่งตกใจนะครับด้วยระบบ leverage เราไม่จำเป็นต้องใช้ทุนเยอะขนาดนี้)  
ต่อมาราคาขยับขึ้นไปที่ 1.3149 และทำการขายเงินยูโรออกไปจะได้เป็นเงินดอลลาร์กลับคืนมา 134,190 ดอลลาร์ หรือได้กำไร 10 ดอลลาร์ โดยการขยับขึ้นของราคาเพียง 1 pip เท่านั้น
      
      -leverage คืออัตราการเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ลูกค้า โดย leverage จะกำหนดเป็นอัตราส่วนเช่น 1:100 หมายความว่าใช้เงินเพียงร้อยละ 1 ของมูลค่าที่สั่งซื้อเพื่อส่งคำสั่งซื้อ โดยลูกค้าเพียงแต่วางเงินประกันขั้นต่ำหรือ Used Margin เพียง 1% ของมูลค่าที่ส่งคำสั่งซื้อเท่านั้น 
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนักลงทุนไม่ได้ชำระค่าซื้อเต็มจำนวนหรือเต็มมูลค่าที่ได้สั่งซื้อไป และเงินที่วางเป็นหลักประกันนั้นจะถูกคำนวณกำไรขาดทุนให้อัตโนมัติ เพื่อให้นักลงทุนสามารถรับรู้กำไรขาดทุนได้ตลอดเวลา 

ดังนั้น หากเราต้องการสั่งซื้อ EUR/USD เป็นจำนวน 1 standard lot ที่ราคา offer ที่ 1.3148  โดยไม่อาศัย leverage เราอาจต้องใช้เงินลงทุนถึง 131,480 เหรียญฯ ! เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 10 เหรียญฯ นั่นคือการชำระเงินค่าซื้อเต็มจำนวน 

แต่ที่อัตรา leverage 1:100 เราจะใช้เงินเพียง 1,314.8 เหรียญฯ ในการวางเป็นหลักประกัน เท่านั้น เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 10 เหรียญได้เช่นกัน (131,480/100)
ที่อัตรา leverage 1:200 จะใช้ used margin เท่ากับ 657.4 เหรียญฯ (131,480/200) 
และที่อัตรา leverage 1:500 จะใช้ used margin เท่ากับ 262.96 เหรียญฯ (131,480/500)

จากกรณีเดียวกัน การส่งคำสั่งซื้อที่ 0.1 lot ใช้ used margin ประมาณ 131.48 เหรียญฯ เพื่อให้ได้กำไร pip ละ 1 เหรียญ ที่ leverage 1:500 ใช้ used margin เพียง 26.29 เหรียญ

จะเห็นว่าอัตรา leverage ที่สูงขึ้น ยิ่งทำให้เราใช้ used margin น้อยลง โดยปกติอัตรา leverage จะมีให้ลูกค้าเลือกในขั้นตอนการเปิดบัญชีและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 1:1 ถึง1:500 ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ และบางโบรกเกอร์อาจมีให้ถึง 1:2000  แต่มีข้อควรระวังก็คือการเพิ่มอัตรา leverage เป็นการเพิ่มความเสี่ยง โดยนักลงทุนที่เลือกอัตรา leverage สูงๆต้องมีการจัดการหรือบริหารการเงินที่ดีควบคู่ไปด้วย
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ......
เพราะต้องไม่ลืมว่าในระบบ leverage เราไม่ได้ชำระเงินเต็มจำนวนในการลงทุน เพียงแค่วางเงินหลักประกันไว้บางส่วนเท่านั้น แต่เรามีมูลค่าการลงทุนที่เกินขนาดเงินวางประกันของเรา

เรามาดูกรณีตัวอย่างกันครับ
เริ่มต้นเลยนั้นเมื่อคุณทำการเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณจำเป็นที่จะต้องทำการฝากเงินเข้าบัญชีเทรดก่อนครับ โดยเงินฝากขั้นต่ำขึ้นอยู่กับประเภทบัญชี และข้อกำหนดของโบรกเกอร์ ทั้งนี้เงินฝากขั้นต่ำจะมีตั้งแต่ 1 - 2,000 เหรียญฯ
(โปรดดูรายละเอียดการเปิดบัญชีและขั้นตอนการฝากถอนเงิน)

สมมุติว่าคุณทำการฝากเงินเป็นจำนวน 100 เหรียญฯ หรือราวๆ 3,500 บาท จะทำให้คุณมี  Balance เท่ากับ 100 เหรียญฯ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในบัญชีเทรดของคุณ
และสมมุติว่าคุณเลือกอัตรา leverage ที่ 1:500 
ตอนนี้คุณก็สามารถส่งคำสั่งซื้อหรือเปิดสถานะการลงทุนได้แล้ว ซึ่งผมจะขอใช้คำว่า เปิดออเดอร์ นะครับ
หากคุณเปิดออเดอร์ buy EUR/USD ที่ 0.1 lot จะทำให้คุณใช้เงินวางประกันขั้นต่ำ หรือ Used Margin เท่ากับ 26.29 เหรียญฯ ซึ่งจะเหลือ Free Margin หรือ Available Margin อีก 73.71 เหรียญฯ กรณีที่สถานะการลงทุนนั้นเท่าทุนนะครับ 

แต่หากคุณได้กำไรอยู่ Free Margin ก็จะเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนกำไรที่ได้รับ 
เช่นเดียวกันหากออเดอร์นั้นขาดทุนอยู่ Free Margin ก็จะลดลงเท่ากับจำนวนที่ขาดทุน 
นอกจากนั้นจำนวนกำไร/ ขาดทุน จะถูกนำมาบวก/ ลบ กับ Balance ของคุณเพื่อแสดงสถานะทรัพย์สินสุทธิในบัญชีของคุณ ซึ่งจะแสดงในค่า Equity ครับ
โปรดดูตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ครับเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการวางหลักประกัน การคิดกำไรขาดทุน และแสดงถึงความมหัสจรรย์ของระบบ leverage ซึ่งจะเห็นว่าบัญชีดังกล่าวมี Balance เริ่มต้น เพียง 285 บาทเท่านั้น แต่สามารถทำกำไรได้ถึง 3,433 บาทในระยะเวลาไม่ถึง 1 วัน



เริ่มเห็นโอกาสกันรึยังครับ 
กรณีข้างต้นนี้หากขาดทุนก็จะขาดทุนสูงสุดไม่เกิน Balance ที่เรามีหรือ 285 บาทเท่านั้น

ใช่แล้วครับการลงทุนในระบบ leverage อาจทำให้คุณสูญเงินลงทุนทั้งหมดที่คุณฝากเข้าบัญชีเทรด แต่ก็ถือเป็นการขาดทุนที่จำกัด ในขณะเดียวกัน กรณีที่ได้กำไรคุณสามารถทำกำไรได้ไม่จำกัดอย่างที่เห็นครับ



อ่านบทความต่อเนื่อง จะเริ่มอย่างไร

1 comment:

  1. I am thankful to this blog for assisting me. I added some specified clues which are really important for me to use them in my writing skill. Really helpful stuff made by this blog.
    วิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค คืออะไร

    ReplyDelete