Booking.com

แนวทางการวิเคราะห์

แนวทางการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อขาย
     1.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพเศรษฐกิจของประเทศของคู่สกุลเงินโดยเปรียบเทียบกัน ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีก็อาจส่งผลให้สกุลเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ประเทศใดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจก็อาจส่งผลให้สกุลเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง รวมถึงการพิจารณาปริมาณความต้องการซื้อหรือปริมาณความต้องการถือครองเงินสกุลเงินใดสกุลหนึ่ง หากปริมาณความต้องการดังกล่าวมีเพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลให้สกุลเงินนั้นแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ปริมาณความต้องการขายที่เพิ่มขึ้นก็จะส่งผลในทิศทางตรงกันข้าม อาจกล่าวได้ว่าการพิจารณาถึงปริมาณความต้องการซื้อ/ขาย เงินสกุลใดสกุลหนึ่งสามารถนำมาใช้เป็นหลักพื้นฐานเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันเพื่อหาทิศทางการเคลื่อนใหวของสกุลเงิน เช่น วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2552  ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโร และทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น โดยดัชนีสกุลเงินยูโรลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี 2552 ถึงต้นปี 2553 ทั้งนี้ยังต้องติดตามตัวเลขต่างๆทางเศรษฐกิจซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงสภาพทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ อัตราการจ้างงาน เป็นต้น  โดยปัจจุบันสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้สะดวกรวดเร็วซึ่งมีเวบฯที่รวบรวมเกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าวจากประเทศต่างๆจัดทำเป็นปฏิทินทางเศรษฐกิจ และระบุวันที่และเวลาที่ตัวเลขจะถูกประกาศ เช่น Forexfactory (ดูตัวอย่างปฏิทินเศรษฐกิจ) นอกจากนี้เวบฯดังกล่าวยังมีบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อขาย และที่สำคัญยังสามารถปรับเวลาที่แสดงในปฏิทินทางเศรษฐกิจให้ตรงกับเวลาในท้องถิ่น โดยค่าที่แสดงในแต่ละตัวเลขจะประกอบด้วย
- previous คือค่าก่อนหน้า หรือค่าเดิมที่ได้มีการประกาศในเดือน,ปีหรือไตรมาส ที่แล้ว
- forecast คือค่าคาดการ์ณ หรือค่าของตัวเลขที่มีการวิเคราะห์ล่วงหน้า ว่าน่าจะออกมาในระดับใด โดยพิจารณารวบรวมข้อมูลในรอบเดือน/ปี ที่ผ่านมา
- actual คือค่าที่ประกาศจริง
        ดังนั้นการพิจารณาต้องดูทั้ง 3 ค่าประกอบกัน เช่นหากค่าที่ประกาศจริงสูงกว่าค่าเดิม(ในกรณีที่การเพิ่มขึ้นของตัวเลขนั้นส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ) แต่น้อยกว่าค่าที่คาดการณ์ก็อาจส่งผลในทิศทางตรงข้ามได้ เนื่องจากนักลงทุนเกิดความผิดหวัง ทั้งนี้ต้องดูถึงระดับของการส่งผลกระทบต่อตลาดของตัวเลข/ข่าว นั้นๆ โดยระดับดังกล่าวอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ ส่งผลมาก,ปานกลาง,น้อย ซึ่งทางเวบฯจะจัดระดับความสำคัญของ ตัวเลข/ข่าวให้ทราบในปฏิทินเศรษฐกิจ

หัวข้อ ข่าว/ตัวเลข ในปฏิทินเศรษฐกิจ และความหมาย


กลุ่มสำคัญมาก
Trade Balance
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP
ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Gross Domestic Product หรือ GDP
จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึง
เศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Price Index หรือ CPI
ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง
โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตรา ดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Retail Sales
ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales
โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ
ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI
ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

กลุ่มสำคัญ

Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์
แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Personal Income
ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ)
โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อ
และเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Personal Spending
ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล
 การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด
ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland,
United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland,
Slovakia และ Slovenia
Durable Goods Orders
ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง
ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Institute of Supply Management หรือ ISM
ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ
การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
Philadelphia Fed Survey
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM
ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ
ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand
ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Factory Orders
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Industrial Production
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Non-Farm Productivity
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า
ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี
แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Current Account Balance
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน
ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Confidence
ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง
การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
NY Empire State Index
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
Leading Indicators
ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้
ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
Business Inventories
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก
ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
IFO Business Indexes
ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ขอขอบคุณ แหล่งที่มาของความหมายข่าวในปฏิทินเศรษฐกิจ   ป้าเหมียว


     2.การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เป็นการพิจารณาการเคลื่อนใหวของราคาจากอดีตเพื่อหาทิศทางหรือแนวโน้มของราคาในอนาคต ตลอดจน แนวรับ แนวต้านของคู่สกุลเงินนั้นๆโดยอาศัยเครื่องมือหลักคือกราฟแสดงการเคลื่อนใหวของราคาซึ่งจะมีอยู่ในโปรแกรมการซื้อขาย นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มตัวชี้วัดต่างๆ (มีอยู่ในโปรแกรมฯ)เพื่อใช้หาสัญญาณซื้อ/ขาย ได้แม่นยำยิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค การทำงานและวิธีการกำหนดค่าของตัวชี้วัดต่างๆ ได้ตามเวบฯ

หรือดาวน์โหลดตำราฯ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีให้ดาวน์โหลดเป็นจำนวนมากทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น คู่มือการวิเคราะห์ทางเทคนิค ของ อ.สุรชัย ไชยรังสินันท์ เป็นต้น ไม่ยากง่ายหรอกครับ

1 comment:

  1. Casino Games in 2021 | DRMCD
    The Best Casino Sites — The 제주 출장마사지 #1 Site 경상북도 출장마사지 for Online 전라남도 출장안마 Casino Gambling ✓ 하남 출장안마 In-depth reviews, ratings, latest bonuses, games, mobile apps, Live Dealer and 동두천 출장안마 more!

    ReplyDelete